วีซ่าในรูปแบบนายจ้างสปอนเซอร์ (ENS) – ซับคลาส 186

โพสต์เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2023

บล็อกโพสต์

,

เราจะมาเขียนถึงเรื่องวีซ่าประเภท วีซ่าในรูปแบบนายจ้างสปอนเซอร์ (ENS) – ซับคลาส 186 การที่วีซ่าถาวรของออสเตรเลียหรือที่เราเรียกกันว่า PR (Permanent Resident) ที่ได้มาจากนายจ้างสปอนเซอร์ผู้สมัครนั่นเองวีซ่า 186 มีทั้งหมด 3 ประเภทเลยทีเดียว 

  • กระแสการเปลี่ยนถิ่นที่อยู่ชั่วคราว (TRT)
  • สตรีมรายการโดยตรง (DE)
  • Labour Agreement Stream ประเภทวีซ่านี้มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ถ้าต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมให้ทำนัดปรึกษามาได้ค่ะ แต่คราวนี้เราจะขอเขียนถึงวีซ่า 186 สองประเภทแรกก่อนนะคะ

ประเภทที่ 1

กระแสการเปลี่ยนถิ่นที่อยู่ชั่วคราว (TRT) เป็นประเภทวีซ่าสำหรับผู้ที่มีนายจ้างสปอนเซอร์อยู่แล้ว และโดยปกติแล้วจะต้องทำงานกับนายจ้างเดียวกันให้ครบ 3 ปีจากทั้งหมด 4 ปีในระหว่างที่ถือวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์อยู่ ตัวอย่างผู้ที่มีสิทธิ์สมัครวีซ่าประเภทนี้ได้ คือ

  • ผู้ที่ถือวีซ่า Subclass 457 Temporary Work (Skilled) Visa ในสาขา กระแสระยะกลาง
  • ผู้ที่ถือวีซ่า วีซ่าซับคลาส 482 การขาดแคลนทักษะชั่วคราว (TSS) ในสาขา กระแสระยะกลาง
  • ผู้ที่ถือวีซ่า Subclass 457 หรือ 482 ในสาขา Short-Term Stream เพื่อการยื่นวีซ่าที่สามารถยื่นได้ในประเทศออสเตรเลียมากกว่า 12 เดือนในช่วง 1 กุมภาพันธ์ 2020 ถึง 14 ธันวาคม 2021 และสามารถถือวีซ่าสปอนได้ เซอร์ในระยะเวลานั้นด้วยโดยปัจจุบันมีกำหนดว่าจะต้องยื่นวีซ่าก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2024 (กฎนี้อาจจะรองรับ)

ขั้นตอนในการสมัครวีซ่า 186 TRT มีด้วยกัน 2 ขั้นตอน คือ

1. ใบสมัครเสนอชื่อ:  เป็นขั้นตอนของนายจ้างที่เสนอชื่อลูกจ้างที่ถือวีซ่า 482 หรือ 457 อยู่และทำงานมาครบตามที่กำหนดแล้ว

คุณสมบัตินายจ้างประการแรกนี้

  • มีการดำเนินการของธุรกิจอยู่จริงและถูกต้องตามกฎหมาย
  • นายจ้างจะต้องมีการสำรวจตลาดแรงงานในออสเตรเลีย และแสดงให้เห็นว่านายจ้างมีความจำเป็นต้องจ้างลูกจ้างต่างชาติเพื่อทำงานในตำแหน่งที่กำหนดเนื่องจากไม่สามารถหาลูกจ้างชาวออสเตรเลียได้แล้วจริงๆ และจะต้องแสดงหลักฐานว่ามีศักยภาพทางการเงินที่จะสามารถจ้างลูกจ้างคนดังกล่าวได้ไปอีกอย่างน้อย 2 ปี
  • นายจ้างมีหน้าที่ช่วยพัฒนาศักยภาพการจ้างงานของคนออสเตรเลียด้วยการสนับสนุนเงินทุนให้กับรัฐบาล (Skilling Australians Fund Levy: SAF) โดยนายจ้างจะต้องจ่ายตามนี้ 
    • หากรายได้สุทธิของธุรกิจต่อปีต่ำกว่า 10 ล้านบาทเหรียญออสเตรเลียนายจ้างต้องจ่ายค่าสนับสนุนให้กับรัฐบาลเป็นเงิน 3,000 เหรียญออสเตรเลียต่อการเสอนชื่อลูกจ้างแต่ละครั้ง
    • หากรายได้เหมาะสมกับธุรกิจจะเห็นได้ชัดเจน 10 ล้านบาทเหรียญออสเตรเลียนายจ้างต้องจ่ายค่าสนับสนุนให้กับรัฐบาลเป็นเงิน 5,000 เหรียญออสเตรเลียต่อการเสอนชื่อลูกจ้างแต่ละครั้ง

เงื่อนไขในการยื่นเสนอชื่อ 

  • จะต้องอยู่ในสาขาอาชีพตามรายการที่แสดงอยู่ ณ ปัจจุบันใน Medium and Long-term Strategic Skills List (MLTSSL) (ซึ่งเงื่อนไขนี้ไม่รวมถึงผู้ที่ถือวีซ่า subclass 457 และ 482 ที่ทำงานในออสเตรเลียในช่วงโควิดที่สามารถทำงานในสาขาอาชีพ Short-term ได้ ตามข้อมูลด้านบน)
  • ค่าแรงต้องได้เทียบเท่ากับที่ลูกจ้างชาวออสเตรเลียทั่วไปได้รับ ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นค่าแรงขั้นต่ำของสาขาอาชีพนั้นๆ

2. การยื่นขอวีซ่า: เป็นขั้นตอนยื่นสมัครวีซ่าของลูกจ้าง โดยสามารถยื่นสมัครวีซ่าพร้อมขั้นตอนการเสนอชื่อได้เลย หรือจะยื่นเมื่อ Nomination ขั้นตอนแรกได้รับการอนุมัติแล้วแต่ยังไม่เกิน 6 เดือนหลังจากวันที่ได้รับอนุมัติ  

คุณสมบัติผู้สมัครวีซ่าเบื้องต้น

  • มีอายุต่ำกว่า 45 ปี หรือมีข้อยกเว้นในบางกรณี*
  • มีผลสอบภาษาอังกฤษตรงตามเกณฑ์ (IELTS 6 ในทุกด้านหรือผลสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า) โดยที่ผลสอบจะมีอายุ 3 ปี
  • มีสุขภาพแข็งแรงตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • มีหลักฐานการทำงานกับนายจ้างตรงตามสายงานที่ถูกเสนอชื่อมาอย่างน้อย 3 ปีใน 4 ปีที่ผ่านมา หรือว่าสำหรับผู้ที่สมัครหรือถือวีซ่า 457 มาตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2017 จะใช้หลักฐานการทำงานเพียงแค่ 2 ปีใน 3 ปีก่อนที่จะสมัครเท่านั้น

ประเภทที่ 2

สตรีมรายการโดยตรง (DE) ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยนายจ้าง ให้มีโอกาสรับลูกจ้างต่างชาติเข้ามาทำงานหลังจากที่ธุรกิจของตนไม่สามารถหาลูกจ้างที่มีทักษะชาวออสเตรเลียได้ในตลาดแรงงาน ณ ปัจจุบัน ข้อดีของการยื่น 186 ประเภทนี้คือ ผู้สมัครไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่บนวีซ่าสปอนเซอร์ 457 หรือ 482 มาก่อน หรือว่าอาจจะมีประสบการณ์มาแล้วจากต่างประเทศ หรืออาจจะอยู่บนวีซ่าสปอนเซอร์อยู่แล้วแต่มีการย้ายงานเปลี่ยนแปลงนายจ้าง การที่สมัครวีซ่า186DE นี้ผู้สมัครจะไม่ต้องรอนับ 1 ใหม่และเสียเวลาไปอีก 3 ปีเพื่อที่จะสมัครวีซ่า 186TRT ค่ะ 

ขั้นตอนในการสมัครวีซ่า 186 DE มีด้วยกัน 2 ขั้นตอนเช่นเดียวกันกับประเภทแรก คือ

1. ใบสมัครเสนอชื่อ:  เป็นขั้นตอนของนายจ้างที่จะเสนอชื่อลูกจ้างต่างชาติเข้ามาทำงานในองค์กรซึ่งไม่ต่างกับการทำ Nomination ของ 186 TRT  

คุณสมบัติของนายจ้าง มีดังนี้

  • มีการดำเนินการของธุรกิจอยู่จริงและถูกต้องตามกฎหมาย
  • นายจ้างจะต้องมีการสำรวจตลาดแรงงาน และแสดงได้ว่านายจ้างมีความจำเป็นต้องจ้างลูกจ้างต่างชาติเพื่อทำงานในตำแหน่งที่กำหนดเนื่องจากไม่สามารถหาลูกจ้างชาวออสเตรเลียได้แล้วจริงๆ และจะต้องแสดงหลักฐานว่ามีศักยภาพที่จะสามารถจ้างลูกจ้างคนดังกล่าวได้ไปอีกอย่างน้อย 2 ปี
  • นายจ้างช่วยการสนับสนุนเงินทุนให้กับรัฐบาล (Skilling Australians Fund Levy: SAF) โดยนายจ้างจะต้องจ่ายตามรายละเอียดที่กล่าวไปข้างต้นเป็นเงิน 3,000 หรือ 5,000 เหรียญออสเตรเลีย

เงื่อนไขในการยื่นเสนอชื่อ 

  • จะต้องเป็นตำแหน่ง full-time ที่รองรับลูกจ้างได้อย่างน้อย 2 ปี
  • จะต้องอยู่ในสาขาอาชีพตามรายการอีกครั้ง ณ ปัจจุบันใน Medium and Long-term Strategic Skills List (MLTSSL) 
  • ค่าแรงต้องได้เทียบเท่ากับที่ลูกจ้างชาวออสเตรเลียทั่วไปได้รับ ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นค่าแรงขั้นต่ำของสาขาอาชีพนั้นๆ

2. การยื่นขอวีซ่า: เป็นขั้นตอนยื่นสมัครวีซ่าของลูกจ้าง โดยสามารถยื่นสมัครวีซ่าพร้อมขั้นตอนการเสนอชื่อได้เลย หรือจะยื่นเมื่อขั้นตอนแรกได้รับการอนุมัติแล้วและยังไม่เกิน 6 เดือนหลังจากวันที่ได้รับอนุมัติ ขั้นตอนนี้จะต่างกับการยื่น 186 TRT ตรงที่ผู้สมัครจะถือวีซ่าอะไรอยู่ก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องถือวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ และไม่จำเป็นจะต้องทำงานกับนายจ้างมาแล้วอย่างน้อย 3 ปีค่ะ

คุณสมบัติผู้สมัครวีซ่านั้น

  • มีอายุต่ำกว่า 45 ปี หรือมีข้อยกเว้นในบางกรณี
  • มีผลสอบภาษาอังกฤษตรงตามเกณฑ์ (IELTS 6 each band) โดยที่ผลสอบมีอายุ 3 ปี
  • มีผล Skills Assessment (ใบรับรองการประเมินทักษะ ที่ออกโดยหน่วยงานที่กำหนดโดยจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายอาขีพ โดยการประเมินทักษะนี้จะเป็นการตรวจสอบทักษะของผู้สมัครว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่)
  • มีประสบการณ์ทำงาน full-time ครบ 3 ปีในสาขาอาชีพที่เสนอชื่อไป ซึ่งประสบการณ์ทำงานนี้จะสามารถเริ่มนับได้หลังจากที่เรียนจบหลักสูตรของสายอาชีพนั้น ๆ และมีวุฒิการศึกษาตามที่กำหนดในกฎการรับสมัครวีซ่าของกระทรวงกิจการภายใน (Department of Home Affairs)
  • มีสุขภาพแข็งแรงตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • ปฏิบัติงานตรงตามสายงานที่ถูกเสนอชื่อกับนายจ้าง

วีซ่า 186 ทั้งสองประเภทนี้ก็มีข้อดีแตกต่างกันค่ะ ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้สมัครวีซ่ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับประเภทไหนนะคะ ขอบคุณทุกคนที่ติดตาม และอ่านบทความของเรา ไว้พบกันใหม่ในบทความต่อไปค่ะ หรือหากมีข้อสงสัย และอยากจะปรึกษากับทางเราเพิ่มเติม สามารถจองนัดปรึกษาได้ที่ https://i-migration.com.au/book-now/

เอมี่ สุวิญญัติชัยพร

ตัวแทนการย้ายถิ่นฐานที่ลงทะเบียน

มาร์น 1385337

ข้อมูลต่างๆ ในบทความนี้เป็นการอัปเดตล่าสุดในวันที่ 29 มกราคม 2023

ภาพพื้นหลัง

หากคุณกำลังต้องการคำแนะนำเรื่องวีซ่า เราพร้อมให้ความช่วยเหลือ